เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[48] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัย แก่
ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาต-
ปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย (1)
[50] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย
(ไม่มีปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา) (1)
[51] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1
โดยสหชาตปัจจัย (1)

อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัย
[52] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอัญญมัญญปัจจัยเป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (อัญญมัญญปัจจัย
และนิสสยปัจจัยเหมือนสหชาตปัจจัย)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :671 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[53] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาอาศัยศรัทธาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น (ทำอภิญญา
ให้เกิดขึ้น) ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ
... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข จึงให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น (ในศีล สุตะ จาคะ และปัญญาซึ่งมี
ศรัทธาเป็นที่ 5 พึงเพิ่มคำว่า มีมานะ ถือทิฏฐิ เข้าด้วย ในหมวดธรรมที่เหลือ
ไม่ต้องเพิ่มเข้า) บุคคลมีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ที่
ทางเปลี่ยว ผิดภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ
... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ
... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคล
อาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มี
การ แสวงหาเป็นมูลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา
ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูลอาศัยราคะที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :672 }